News

มกอช. ลุยเมืองน่าน เยี่ยมชมโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่จริม พร้อมส่งเสริม QR Trace on Cloud สร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยสินค้าเกษตร

19/05/2023

วันที่ 19 พ.ค.66 นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ลงพื้นที่จังหวัดน่าน เยี่ยมชมโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่จริม และศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศูนย์เครือข่าย) ชนิดพืช พืชผัก ตำบลแม่จริม พร้อมรับการบรรยายผลการดำเนินงานและการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก พืชผัก ผลไม้ โดยมี นายมนัส กุณนา หัวหน้าโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่จริม เป็นผู้บรรยายพร้อมนำเยี่ยมชม และผู้แทนจากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดน่าน ร่วมลงพื้นที่และให้การต้อนรับ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่จริม ตำบลแม่จริม อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน

ทั้งนี้ เลขาธิการ มกอช.ได้ร่วมหารือและแลกเปลี่ยน พร้อมทั้งแนะนำในเรื่องระบบ QR Trace on Cloud ซึ่งเป็นระบบการตรวจสอบย้อนกลับ ของ มกอช. เพื่อให้เกษตรกรนำไปใช้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหารแก่ผู้บริโภค ด้วยระบบ QR Trace on Cloud เป็นเครื่องมือช่วยให้เกษตรกรรายย่อย กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน รวมถึงผู้ประกอบการ นำระบบไปใช้งานในการจัดเก็บข้อมูลที่มาที่ไป รวมถึงข้อมูลการผลิต เพื่อใช้ในการตามสอบสินค้าเกษตร สามารถบริหารจัดการการผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำข้อมูลที่จัดเก็บไปสร้าง QR Code สำหรับเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงข้อมูลตามสอบสู่ผู้บริโภค รองรับสินค้าเกษตรในกลุ่มผัก ผลไม้ ข้าว ปศุสัตว์ ไข่ ประมง สินค้าแปรรูป

นอกจากนี้ เลขาธิการ มกอช.พร้อมคณะ เดินทางไปเยี่ยมชมโรงเพาะปลูก โรงคัดบรรจุ ศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศูนย์เครือข่าย) ชนิดพืช พืชผัก และแปลงสาธิตการปรับปรุงบำรุงดิน โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่จริม อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่จริม มีพื้นที่การดำเนินงานของโครงการครอบคลุมพื้นที่ 6 หมู่บ้าน ในตำบลแม่จริม อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน โดยดำเนินกิจกรรมอย่างเข้มข้น 6 หมู่บ้าน มีเป้าหมายการพัฒนาและผลการดำเนินงานของโครงการเป็นกิจกรรมส่งเสริมการลดพื้นที่การ ปลูกข้าวโพดและการพัฒนาการเกษตรที่เหมาะสมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นชุมชนต้นแบบการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วม ทางเลือกทดแทนข้าวโพดสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อลดปัญหาการบุกรุกป่าและการปลูกข้าวโพด ทำให้ชุมชนมีอาชีพที่หลากหลายเช่น ผักในโรงเรือน ผลไม้ ปศุสัตว์ สร้างรายได้ที่ดีมั่นคง และยั่งยืน มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มมากขึ้นจาก การปลูกไม้ยืนต้นและผลไม้กว่า 12,409 ไร่ มีพื้นที่ปลูกข้าวโพด ลดลงร้อยละ 37 %

No Comments

    Leave a Reply