News

มกอช. ขับเคลื่อนโครงการเกษตรเพื่อชีวิต ปี 7 สร้าง “เกษตรกรรุ่นใหม่ ใส่ใจมาตรฐาน” ส่งเสริมเกษตรกรรมไทยสู่วิถีเกษตรยั่งยืน

28/09/2021

นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และนายครรชิต สุขเสถียร รองเลขาธิการ มกอช. ร่วมเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลและประกาศเกียรติคุณแก่ผู้ชนะ   การประกวดฟาร์มมาตรฐานสินค้าเกษตร ในโครงการเกษตรเพื่อชีวิต “เกษตรกรรุ่นใหม่ใส่ใจมาตรฐาน” ประจำปี 2564 พร้อมมอบใบประกาศนียบัตรแก่อาจารย์และนักศึกษาที่ร่วมโครงการ ในวันที่ 28 กันยายน 2564 ณ อาคารฝึกอบรมด้านมาตรฐานการผลิตพืช กรมวิชาการเกษตร และผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) เพื่อเป็นการยกย่องและให้กำลังใจแก่นักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ที่มีการนำมาตรฐานสินค้าเกษตรการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice : GAP) ไปใช้ปฏิบัติและช่วยเผยแพร่สู่ชุมชน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความสามารถของคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นอนาคตในการพัฒนาประเทศต่อไป ซึ่งโครงการนี้ มกอช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ กรมการข้าว กรมวิชาการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมด้วยวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี จำนวน 23 แห่ง ภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยผลการประกวดมีดังนี

1.ขอบข่ายข้าว เรื่องการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าว (มกษ. 4401-2551) จำนวน 4 รางวัล ดังนี้

1) รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โครงการทำนาตามมาตรฐาน GAP ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง ประกอบด้วย นายนครินทร์ บุญชูดำ นายสมประสงค์ เกื้อสม และนางสาวอริสสรา สายสุวรรณ

2) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ โครงการปลูกข้าว กข 43 ตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าว     (มกษ. 4401-2551) วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลพบุรี ประกอบด้วย นางสาวฐิติมา จินดาเนตร นายคมชาญ พะวงจิตร์ และนายทักษิณ แหล่งหล้า

3) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ โครงการผลิตข้าวเหนียวเคี้ยวนุ่ม สู่มาตรฐาน GAP วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ ประกอบด้วย นางสาวภัทรวีร์ กันยา นางสาวรัชนีกร อุ่นแก้ว และนายเมธา สิงหันต์

4) รางวัลชมเชย ได้แก่ โครงการผลิตข้าวมาตรฐาน GAP วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร ประกอบด้วย      นายพลกฤต บุญโกศล  นายนาวิน อุดมพรม และนายทรงพล ทิพวัน

2.ขอบข่ายพืชอาหาร เรื่องการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (มกษ.9001-2556) จำนวน 4 รางวัล ดังนี้

1) รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โครงการปลูกมะเขือยาวและมะเขือเปราะ ตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (มกษ.9001-2556) วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลพบุรี ประกอบด้วย นางสาวน้ำทิพย์ สายสินธุ์
นางสาวสุมิลตร พรมมา และนายณัฐพล เงินอุปถำ

2) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ โครงการปลูกผักตามมาตรฐานปลอดภัย by วิทยาลัยเกษตรฯ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี ประกอบด้วย นางสาวนงลักษณ์ เข็มเพชร  นางสาวชลนิชา เปี่ยมศิล และนางสาวปริศนา แจ่มจำรัส

3) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ โครงการปลูกหอมแบ่งตามระบบ GAP วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสงขลา ประกอบด้วย นางสาววรรัตน์ สุระเสนี และนายศานติบูรณ์ ทองจิบ

4) รางวัลชมเชย ได้แก่ โครงการปลูกข้าวโพดแอ้ เอ๊าะ เอ๊าะวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกาญจนบุรี ประกอบด้วย นายจักรภพ ล้ำเลิศ นายฤทธิเกียรติ คำอ่อน และนางสาวเบ็ญญา คล้ายสุบรรณ์

3.ขอบข่ายประมง จำนวน 4 รางวัล ดังนี้

1) รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เรื่องการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตวน้ำที่ดีสําหรับฟารมเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสวยงาม (มกษ. 7426- 2555) โครงการการเพาะเลี้ยงปลากัดฮาฟมูน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี ประกอบ นายวิทยา วงหาจักร นายภราดร แก่นจันทร์ และนางสาวจุฑารัตน์ ลัดเล็ง

2) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ เรื่องการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำจืด  (มกษ. 7417-2559) โครงการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ ประกอบด้วย นายวัชรักษ์ ทองเกร็ด นางสาวอรกานต์ วัฒนาภูริสสกุล และนางสาวกัลยา กระแสเทพ

3) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ เรื่องการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำจืด (มกษ. 7417-2559) โครงการปลาหมอปลูกรักษ์ มาตรฐานอาหารปลอดภัย วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา ประกอบด้วย นายจิรพัฒน์ ทองพั้ว นายธัญเทพ สีทา และนางสาวสุดา ลวงเจน

4) รางวัลชมเชย ได้แก่ เรื่องการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำจืด (มกษ. 7417-2559) โครงการเลี้ยงปลากดเหลืองในบ่อซีเมนต์ระบบน้ำหมุนเวียนตามระบบ GAP วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสงขลา ประกอบด้วย นางสาววิภาวดี อิศโร และนายอดิรัน ชุมประมาณ

4.ขอบข่ายปศุสัตว์ จำนวน 4 รางวัล ดังนี้

1) รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เรื่องการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มจิ้งหรีด (มกษ. 8202-2560) โครงการเลี้ยงจิ้งหรีดเพื่อจำหน่ายตามระบบ GAP วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย นายภูวิศ สุดประเสริฐ นายธวิศะพล จิตราภิรมย์ และนายกฤติน นาอนันต์

2) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ เรื่องการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงนกกระทา (มกษ. 6906-2549)โครงการเลี้ยงนกกระทาไข่ตามมาตรฐาน GAP วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี ประกอบด้วย  นายพรประเสริฐ เชาวดี นางสาวอิสรีย์ ถาวร และนางสาวอาทิตยา ชะนะ

3) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มเป็ดไข่ (มกษ. 6905-2548) ได้แก่  โครงการเป็ดไข่ ไข่เป็ด นำประเทศด้วยการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มเป็ดไข่ (มกษ. 6905-2548) วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลพบุรี ประกอบด้วย นางสาวกฤติย ห่วงเจริญ นางสาวนฤมล อิ่มใจ และนางสาวประภารัตน์ กรกันต์

4) รางวัลชมเชย ได้แก่ เรื่องการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่พื้นเมืองแบบเลี้ยงปล่อย (มกษ. 6914-2560) โครงการฟาร์มไก่พื้นเมือง ตามมาตรฐาน GAP วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ ประกอบด้วย นายภาคภูมิ   ยาคำ นางสาวแพรพลอย ชอบทอง และนางสาวปวรรัตน์ ดีพิสุทธิ

นอกจากนี้ มอกช. ได้มอบประกาศเกียรติคุณประกาศนียบัตร ให้แก่ วิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 23 แห่ง ประกอบด้วยวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีจากจังหวัดพัทลุง กาญจนบุรี สุโขทัย ชัยนาท ตรัง พะเยา ระนอง ชลบุรีนครศรีธรรมราช สงขลา ขอนแก่น ราชบุรี กำแพงเพชร ยโสธร สุพรรณบุรี กระบี่ ร้อยเอ็ด นครราชสีมา สตูล ศรีสะเกษ ลพบุรี และสุราษฎร์ธานี

การจัดโครงการเกษตรเพื่อชีวิต “เกษตรกรรุ่นใหม่ใส่ใจมาตรฐาน” ประจำปี 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ในขอบข่ายพืชอาหาร ข้าว ประมง ปศุสัตว์ และเทคโนโลยีการผลิตที่เกี่ยวข้องให้แก่ นักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ซึ่งถือได้ว่าเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) ให้มีใจรักการเกษตร รู้จักบริหารจัดการการเกษตรด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถต่อยอดไปสู่การเป็นผู้ประกอบการที่สามารถพึ่งพาตนเอง และเป็นผู้นำทางการเกษตรในท้องถิ่นได้   ซึ่งกิจกรรมในโครงการประกอบด้วยการเขียนโครงการประกวดและการคัดเลือกโครงการฟาร์มมาตรฐานสินค้าเกษตร การส่งเสริมการนำมาตรฐานไปปฏิบัติใช้ในแปลง การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงานในรูปแบบออนไลน์ การนิเทศติดตามงานและการตรวจให้คะแนนฟาร์มมาตรฐานสินค้าเกษตรในรูปแบบออนไลน์ การตัดสินโครงการเข้าประกวดฟาร์มมาตรฐานสินค้าเกษตร  และงานพิธีมอบโล่รางวัลและประกาศเกียรติคุณ ทั้งนี้ โครงการเกษตรเพื่อชีวิตได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 7 มีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 956 คน มีโครงการที่ดำเนินการภายใต้มาตรฐาน จำนวน 230 โครงการ ซึ่งในปี 2564 มีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการจำนวน 155 คน และมีโครงการที่เข้าร่วมจำนวน 38 โครงการ

“มกอช. มุ่งหวังว่าผู้เข้าร่วมโครงการจะสามารถนำความรู้ ความเข้าใจระบบการผลิตสินค้าเกษตร  ที่ปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ไปปฏิบัติใช้ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ทั้งยังนำไปเผยแพร่สู่ชุมชนได้ต่อไป ซึ่งตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ด้านอาหารศึกษาที่มุ่งเน้นกระบวนการส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสู่การปฏิบัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหารที่มีคุณภาพปลอดภัย ผ่านการให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจในระดับเยาวชนในสถานศึกษา อีกทั้ง ยังเป็นการเตรียมความพร้อมบุคลากรด้านการมาตรฐานรองรับนโยบายการถ่ายโอนภารกิจ  ด้านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเหนือสิ่งอื่นใดคือการสร้างทัศนคติที่ดีต่ออาชีพเกษตรกรรม ซึ่งจะช่วยบรรเทาการขาดแคลนบุคลากรภาคการเกษตรได้ในอนาคต” เลขาธิการ มกอช. กล่าว

No Comments

    Leave a Reply