วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 09.30 น. พลเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ประธานอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่ภาคกลาง และ พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง องคมนตรี รองประธานอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่ภาคกลาง และคณะอนุกรรมการฯ โดยมีนายปวัตร์ นวะมะรัตน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) นายพงศธร ศิริอ่อน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมโยธา (ด้านสำรวจและหรือออกแบบ) นายนรเศรษฐ สองทอง ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 14 นายสัณฐิต พีรานนท์ ผู้อำนวยการกองประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นายสมเกียรติ แจ่มจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเพชรบุรี และผู้ที่เกี่ยวข้อง ติดตามและเยี่ยมชมผลการดำเนินงานฟาร์มทะเลตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ตำบลบางแก้ว อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
ในการนี้ นายสมเกียรติ แจ่มจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเพชรบุรี ได้บรรยายสรุปโครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบน้ำพร้อมส่วนประกอบ ภายในฟาร์มฯ ประกอบด้วย 8 กิจกรรม ได้แก่
1. ปรับปรุงขุดลอกตกตะกอนบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม จำนวน 6 แห่ง
2. ปรับปรุงขุดลอกตกตะกอนบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จำนวน 1 แห่ง
3. งานก่อสร้างอาคารท่อระบายน้ำทิ้ง
4. งานก่อสร้างอาคารท่อระบายน้ำ ปากท่อผันน้ำระหว่างสระเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
5. งานอาคารรับน้ำลงสระเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง
6. วางท่อรับน้ำจากเครื่องสูบพญานาค
7. งานปรับปรุงถนนเส้นทางสายหลัก
8. งานปรับปรุงถนนเส้นทางสายรอง
ผลการดำเนินงานในภาพรวมทุกกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 30 คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2566
ซึ่งฟาร์มทะเลตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เกิดจากพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระราชดําริเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เพื่อช่วยเหลือราษฎรชาวประมงที่ไม่สามารถออกหาปลาได้ เนื่องจากนํ้ามันมีราคาแพง และทรงริเริ่มให้ทําฟาร์มทะเลตัวอย่างแบบผสมผสาน พร้อมพระราชทานที่ดินส่วนพระองค์ และนางวาสนา เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินในพื้นที่นาเกลือริมทะเล จํานวน 82 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวา ณ หมู่ที่ 5 ตําบลบางแก้ว อําเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เพื่อเป็นฟาร์มตัวอย่างให้แก่ผู้จับสัตว์นํ้า ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า และผู้ที่สนใจทั่วไปได้ศึกษา เรียนรู้ ดูงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และนําไปปรับใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมท้องถิ่นของตนเองต่อไป
No Comments